มุมความรู้
ระบบขนส่งน้ำมันอากาศยาน ทำงานอย่างไร?
การทำงาน ของระบบขนส่งน้ำมันอากาศยาน ณ สนามบินสุวรรณภูมิ เริ่มต้นจากการรับน้ำมันอากาศยานผ่านท่อจากโรงกลั่นน้ำมัน มายังคลังน้ำมันอากาศยาน ณ สนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งสามารถรับน้ำมันผ่านท่อ ได้สองเส้นทาง เส้นทางที่หนึ่งจากบริษัท THAPPLINE จากคลังน้ำมัน Thapp และเส้นทางที่สองจากบริษัท FPT โดยน้ำมันดังกล่าวจะถูกจัดเก็บและควบคุมคุณภาพที่คลังน้ำมันอากาศ ก่อนที่จะสูบจ่ายด้วยปั้มแรงดันสูง (Hydrant Pump) จำนวน 8 ชุดผ่านระบบกรองเข้าสู่โครงข่ายท่อแรงดันสูง (Hydrant Network) ซึ่งจะทำหน้าที่ลำเลียงน้ำมันอากาศยานให้กระจายเข้าสู่จุดเติมน้ำมัน อากาศยาน (Hydrant Pit Valve) ในแต่ละลานจอดอากาศยานต่างๆ โดยระบบจะรักษาระดับแรงดันภายในท่ออยู่ที่ 9-10 bar ทั้งนี้การให้บริการน้ำมันอากาศยานจะใช้รถบริการน้ำมันอากาศยาน (Dispenser) ทำการเชื่อมต่อระหว่างจุดเติมน้ำมันอากาศยาน (Hydrant Pit Valve) กับอากาศยาน (Aircraft Refueling Adaptor) โดยรถเติมน้ำมันอากาศยานจะทำหน้าที่กรอง,วัดปริมาณ และควบคุมแรงดันของน้ำมันอากาศยานให้เหมาะกับการให้บริการแก่อากาศยาน
น้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานคืออะไร แบ่งเป็นกี่ประเภท?
น้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานสามารถแบ่งได้เป็นสองชนิดใหญ่ๆ ตามประเภทของเครื่องยนต์ ได้แก่ เครื่องยนต์กังหันก๊าซ (gas turbine) หรือที่เราเรียกว่า Jet และเครื่องยนตร์ประเภทมีลูกสูบ (reciprocating engine) โดยอากาศยานที่ใช้เครื่องยนต์กังหันก๊าซ (gas turbine) นั้น ได้แก่ เครื่องบินพาณิชย์ส่วนใหญ่และเครื่องบินใบพัด สำหรับเครื่องบินที่ใช้เครื่องยนตร์ลูกสูบส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องบินเล็กของ พลเรือน

โดยน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานที่เครื่องบินพาณิชย์ใช้อยู่สามารถแบ่งได้ 3 ชนิดได้แก่ Jet A-1, Jet A กับ Jet B ซึ่งมีลักษณะใสไม่มีสี และมีส่วนประกอบใกล้เคียงกับน้ำมันก๊าด สำหรับข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่าง Jet A และ Jet A-1 ก็คือ Jet A-1 มีจุด freezing point ที่ต่ำกว่า Jet A ส่วน Jet B ใช้แทน Jet A-1 เฉพาะในเขตที่หนาวจัดเพราะไวไฟกว่า อันตรายมากกว่า สำหรับเครื่องบินรบที่ใช้ในทางทหาร ใช้เชื้อเพลิงที่เรียกว่า JP-4 ซึ่งใกล้เคียงกับ Jet B แต่เติมสารป้องกันสนิม (corrosion) กับป้องกันน้ำแข็ง (anti-icing) ลงไปด้วย นอกจากนั้นแล้วยังมี JP-5 กับ JP-8 ที่คล้ายคลึงกับ Jet A-1 ของพลเรือน แต่มีสารป้องกันสนิมกับกันน้ำแข็งผสมอยู่เช่นกัน

สำหรับเครื่องยนต์ลูกสูบ จะใช้น้ำมันที่เรียกว่า AvGas ย่อมาจาก Aviation Gasoline ในปัจจุบัน avgas ที่ใช้อยู่สำหรับเครื่องบินเล็กและเฮลิคอปเตอร์เล็ก ที่ยอมรับการใช้ตาม Specification มีอยู่ สาม Grades ด้วยกัน ซึ่ง AvGas นี้มีสีผสมไว้เพื่อให้ดูออกว่าเป็นเกรดไหน
ส่วนประกอบหลักของระบบส่งน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานมีทั้งสิ้นกี่ส่วน?
ทั้งหมด 7 ส่วนดังนี้

1. โครงข่ายท่อแรงดันสูงใต้ดิน โครงข่ายท่อแรงดันสูงใต้ดินได้ออกแบบให้มีลักษณะเป็น Loop โดย ท่อเหล็กได้ติดตั้งไว้ใต้ดินใต้พื้นลานจอดอากาศยาน ซึ่งทำหน้าที่ลำเลียงน้ำมันอากาศยาน จากคลังน้ำมันฯ ไปยังลานจอดฯ ท่อเหล็กดังกล่าวเป็นท่อเหล็กทนแรงดันสูงตามมาตรฐาน API 5L GrB โดยท่อทุกเส้นได้รับการเคลือบผิวภายนอกด้วย Polyehtylene และเคลือบผิวภายในด้วย Epoxy ขนาดของท่อมีขนาดต่างกันคือ 24”, 16”, 12” และ 6”

2. บ่อวาล์วสกัด (Section Valve Chamber) บ่อวาล์วสกัด Section Valve Chamber ทำ หน้าที่แบ่งโครงข่ายท่อแรงดันสูงออกเป็นกลุ่มๆ เพื่อความสะดวกในการปิดซ่อมบำรุงในกรณีฉุกเฉิน รวมถึงการปิดเพื่อทดสอบการรั่วไหล โดยห้องวาล์วสกัดใต้ดินประกอบด้วยวาล์วสกัดแบบป้องกันการรั่วสองชั้น (Double Block & Bleed Valve) ซึ่ง ควบคุมด้วยมอเตอร์ นอกจากนั้นยังติดตั้งระบบการวัดแรงดันและอุณหภูมิ เพื่อใช้ในการตรวจสอบการรั่วไหล ซึ่งอุปกรณ์ทั้งหมดจะถูกควบคุมผ่านระบบ SCADA

3. วาล์วจ่ายน้ำมันอากาศยานใต้ดิน วาล์วจ่ายน้ำมันอากาศยานใต้ดิน (Hydrant Pit Valve) ทำ หน้าที่เป็นจุดเชื่อมต่อและควบคุมการจ่ายน้ำมันอากาศยานจากท่อโครงข่ายใต้ ดินเข้ากับรถเติมน้ำมันอากาศยาน โดยวาล์วดังกล่าวจะถูกติดตั้งไว้ใต้พื้นลานจอดอากาศยาน วาล์วที่ใช้เป็นแบบติดตั้งด้วยชุดควบคุมการจ่ายแบบสองชั้น Dual Air Pilot Operate นอกจากนั้น หัวจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศ (Hydrant Pit Valve) ถูกยังติดตั้งอยู่ในหลุมทนแรงกดของล้ออากาศยาน

4. Hydrant Control System Hydrant Control System ทำ หน้าที่ควบคุมวาล์วสกัดและอ่านแรงดัน/อุณหภูมิของน้ำมันอากาศยานภายในโครง ข่ายท่อแรงดัน เพื่อส่งให้ระบบตรวจสอบการรั่วไหลของท่อน้ำมันทำการวิเคราะห์การรั่วไหลต่อ ไป นอกจากนั้นยังรอรับค่าจากระบบหยุดจ่ายน้ำมันฉุกเฉิน เพื่อปิด/เปิดวาล์วในแต่ละส่วนที่เกี่ยวข้อง

5. ระบบหยุดจ่ายน้ำมันฉุกเฉิน ระบบหยุดจ่ายน้ำมันฉุกเฉิน (Hydrant Emergency Shutdown) เป็นปุ่มกดแจ้งเหตุซึ่งจะถูกติดตั้งอยู่ในบริเวณลานจอดอากาศยานทุกหลุมจอด ซึ่งมีทั้งหมด 139 ปุ่ม ระบบระบบหยุดจ่ายน้ำมันฉุกเฉินมีหน้าที่รับค่าการกดจากปุ่ม ESD และส่งสัญญาณแจ้งเหตุมายังระบบ SCADA โดยผ่าน Fiber Optic Cable ในกรณีฉุกเฉิน เมื่อปุ่ม ESD ถูกกด ระบบ ESD ทำหน้าที่ส่งสัญญาณแจ้งเหตุมายังระบบ HCS เพื่อปิดวาล์วในแต่ละส่วนที่เกี่ยวข้องทันที

6. ระบบตรวจสอบการรั่วไหลของท่อน้ำมัน ระบบตรวจสอบการรั่วไหลของท่อน้ำมัน (Tightness Monitoring System - TMS) ทำหน้าที่ตรวจสอบการรั่วไหลของท่อ โดยการวัดค่าแรงดันในท่อ ซึ่งในการทดสอบนั้นจะต้องปิด section ที่ต้องการทดสอบ และระบบจะวัดค่าแรงดันในท่อ โดยใช้เวลาประมาณ 45 นาที ซึ่งความละเอียดของระบบตรวจสอบการรั่วไหล สามารถตรวจจับปริมาตรการรั่วไหล 0.04 ลิตร / ชั่วโมง / ลูกบาตร นอกจากนั้น ระบบยังสามารถตรวจสอบตำแหน่งของจุดที่รั่วไหลได้ โดยค่าความแม่นยำที่ ± 100 เมตร

7. การป้องกันการสึกกร่อนของท่อใต้ดิน บริษัทฯ ได้ติดตั้งระบบป้องกันการสึกกร่อนของท่อ โดยอาศัยการปล่อยกระแสไฟฟ้าให้กับท่อใต้ดิน เพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยาทางเคมีที่จะทำให้ท่อสึกกร่อน โดยระบบที่เลือกใช้เป็นแบบ Impressed Current
เราใช้คุกกี้ (cookie) เพื่อเพิ่มประสบการณ์และความพึงพอใจของท่านในการได้รับการเสนอข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ โดยจะทำให้เราเข้าใจลักษณะการใช้งานเว็บไซต์ของท่านได้เร็ว และทำให้เว็บไซต์ของเราเข้าถึงได้ง่าย สะดวกยิ่งขึ้นโดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตามนโยบายคุกกี้ของเรา