เทคโนโลยี
ส่วนประกอบหลักของระบบส่งน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานมีทั้งสิ้น 7 ส่วน ได้แก่
ส่วนประกอบหลักของระบบส่งน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานมีทั้งสิ้น 7 ส่วน ได้แก่

1
โครงข่ายท่อแรงดันสูงใต้ดิน
โครงข่ายท่อแรงดันสูงใต้ดินได้ออกแบบให้มีลักษณะเป็นวง โดยท่อเหล็กได้ติดตั้งไว้ใต้ดินใต้พื้นลานจอดอากาศยาน ซึ่งทำหน้าที่ลำเลียงน้ำมันอากาศยาน จากคลังน้ำมันฯไปยังลานจอดอากาศยาน ท่อเหล็กดังกล่าวเป็นท่อเหล็กทนแรงดันสูงตามมาตรฐาน API 5L Gr. B โดยท่อทุกเส้นได้รับการเคลือบผิวภายนอกด้วย Polyehtylene และเคลือบผิวภายในด้วย Epoxy ขนาดของท่อมีขนาดต่างกันคือ 24”, 16”, 12” และ 6” ในด้านการบำรุงรักษา การทำ Vents and low points เป็นการดำเนินการเพื่อกำจัดฟองอากาศและสิ่งเจือปนในน้ำมันอากาศยานตามลำดับ
2
บ่อวาล์วสกัด (Section Valve Chamber)
บ่อวาล์วสกัด Section Valve Chamber ทำหน้าที่แบ่งโครงข่ายท่อแรงดันสูงออกเป็นกลุ่มๆ เพื่อความสะดวกในการปิดซ่อมบำรุงในกรณีฉุกเฉิน รวมถึงการปิดเพื่อทดสอบการรั่วไหล โดยห้องวาล์วสกัดใต้ดินประกอบด้วยวาล์วสกัดแบบป้องกันการรั่วสองชั้น (Double Block & Bleed Valve) ซึ่งควบคุมด้วยมอเตอร์ นอกจากนั้นยังติดตั้งระบบการวัดแรงดันและอุณหภูมิ เพื่อใช้ในการตรวจสอบการรั่วไหล ซึ่งอุปกรณ์ทั้งหมดจะถูกควบคุมผ่านระบบ SCADA ทั้งนี้ บ่อวาล์วสกัดและอุปกรณ์ต่างๆที่อยู่ภายใน ได้รับ การตรวจสอบและทำความสะอาด อย่างสม่ำเสมอ
3
วาล์วจ่ายน้ำมันอากาศยานใต้ดิน
วาล์วจ่ายน้ำมันอากาศยานใต้ดิน (Hydrant Pit Valve) ทำหน้าที่เป็นจุดเชื่อมต่อและควบคุมการจ่ายน้ำมันอากาศยานจากท่อโครงข่ายใต้ดินเข้ากับรถเติมน้ำมันอากาศยาน รวมทั้งควบคุมอัตราการไหลของน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าสู่อากาศยาน โดยวาล์วดังกล่าวจะถูกติดตั้งไว้ใต้พื้นลานจอดอากาศยาน ซึ่งวาล์วที่ใช้เป็นแบบติดตั้งด้วยชุดควบคุมการจ่ายแบบสองชั้น (dual air pilots) นอกจากนั้น หัวจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศ (Hydrant Pit Valve) ถูกยังติดตั้งอยู่ในหลุมทนแรงกดของล้ออากาศยาน การบำรุงรักษาวาล์วจ่ายน้ำมันอากาศยานทำได้โดยการตรวจสอบต่างๆได้แก่ การตรวจสอบทั่วไป การตรวจสอบการปฏิบัติงาน การตรวจสอบประสิทธิภาพ
4
ระบบควบคุมโครงข่ายท่อแรงดัน (Hydrant Control System)
ระบบควบคุมโครงข่ายท่อแรงดัน (Hydrant Control System) ทำหน้าที่ควบคุมวาล์วสกัดและอ่านแรงดัน/อุณหภูมิของน้ำมันอากาศยานภายในโครงข่ายท่อแรงดัน ข้อมูลที่ได้รับจะส่งให้ระบบตรวจสอบการรั่วไหลของท่อน้ำมัน (TMS) เพื่อทำการวิเคราะห์ ตรวจสอบการรั่วไหล ต่อไป นอกจากนั้นยังรอรับค่าจากระบบหยุดจ่ายน้ำมันฉุกเฉิน เพื่อปิด/เปิดวาล์วในแต่ละส่วนที่เกี่ยวข้อง
5
ระบบหยุดจ่ายน้ำมันฉุกเฉิน
ระบบหยุดจ่ายน้ำมันฉุกเฉิน (Emergency ShutDown System - ESD) เป็นปุ่มกดแจ้งเหตุซึ่งจะถูกติดตั้งอยู่ในบริเวณลานจอดอากาศยานทุกหลุมจอด ซึ่งมีทั้งหมด 139 ปุ่ม ระบบหยุดจ่ายน้ำมันฉุกเฉินมีหน้าที่รับค่าการกดจากปุ่ม ESD และส่งสัญญาณแจ้งเหตุมายังระบบ SCADA โดยผ่าน Fiber Optic Cable ในกรณีฉุกเฉิน เมื่อกดปุ่ม ESD ระบบ ESD ทำหน้าที่ส่งสัญญาณแจ้งเหตุเพื่อปิดวาล์วในแต่ละส่วนที่เกี่ยวข้องทันที โดยในส่วนอื่นๆยังสามารถจ่ายน้ำมันได้ตามปกติ ทั้งนี้ มีการตรวจสอบการทำงานของระบบ ESD อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้แน่ใจว่าระบบทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
6
ระบบตรวจสอบการรั่วไหลของท่อน้ำมัน
ระบบตรวจสอบการรั่วไหลของท่อน้ำมัน (Tightness Monitoring System - TMS) ทำหน้าที่ตรวจสอบการรั่วไหลของท่อ โดยสามารถชี้จุดที่รั่วไหลได้จากการวัดค่าแรงดันในท่อ ซึ่งในการทดสอบนั้นจะต้องปิดส่วนที่ต้องการทดสอบ และระบบจะวัดค่าแรงดันในท่อ โดยใช้เวลาประมาณ 45 นาที ซึ่งความละเอียดของระบบตรวจสอบการรั่วไหล สามารถตรวจจับปริมาตรการรั่วไหล 0.04 ลิตร/ชั่วโมง/ลูกบาตร นอกจากนั้น ระบบยังสามารถตรวจสอบตำแหน่งของจุดที่รั่วไหลได้ โดยค่าความแม่นยำที่ +/-100 เมตร
7
การป้องกันการสึกกร่อนของท่อใต้ดิน
เพื่อเป็นการป้องกันการสึกกร่อนของท่อใต้ดิน บริษัทฯได้ติดตั้งระบบป้องกันการสึกกร่อนของท่อ โดยอาศัยการปล่อยกระแสไฟฟ้าให้กับท่อใต้ดิน เพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยาทางเคมีที่จะทำให้ท่อสึกกร่อน โดยระบบที่เลือกใช้เป็นแบบ Impressed Current ซึ่งมีการตรวจสอบระบบป้องกันการสึกกร่อน อย่างต่อเนื่อง
เราใช้คุกกี้ (cookie) เพื่อเพิ่มประสบการณ์และความพึงพอใจของท่านในการได้รับการเสนอข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ โดยจะทำให้เราเข้าใจลักษณะการใช้งานเว็บไซต์ของท่านได้เร็ว และทำให้เว็บไซต์ของเราเข้าถึงได้ง่าย สะดวกยิ่งขึ้นโดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตามนโยบายคุกกี้ของเรา